Monday, February 20, 2017

[Herpetology • 2010] Cyrtodactylus dumnuii • A New Cave-dwelling Gecko (Squamata: Gekkonidae) from Chiang Mai Province, Thailand


ตุ๊กกายดำนุ้ย, Cyrtodactylus dumnuii 
 Bauer, Kunya, Sumontha, Niyomwan, Pauwels, Chanhome & Kunya, 2010

Abstract

A new cave-dwelling species of Cyrtodactylus is described from Chiang Mai Province in northern Thailand. Cyrtodactylus dumnuii sp. nov. may be distinguished from all other congeners by the possession of a series of enlarged femoral scales, disjunct precloacal and femoral pores in males (minute precloacal pores variably present in females), a relatively high number (18–22) of closely spaced, regularly arranged dorsal tubercle rows, well-defined non-denticulate ventrolateral folds, transversely enlarged subcaudal plates, and a color pattern of approximately six pairs of alternating light and dark transverse bands on the trunk. It is the nineteenth member of the genus recorded from Thailand and the eighth Thai Cyrtodactylus known to be a facultative troglophile.

Keywords: Thailand; Chiang Mai; Reptilia; Gekkonidae; Cyrtodactylus dumnuii; new species; taxonomy; cave-dwelling





Aaron M. Bauer, Kirati Kunya, Montri Sumontha, Piyawan Niyomwan, Olivier S. G. Pauwels, Lawan Chanhome and Tunyakorn Kunya. 2010.
 Cyrtodactylus dumnuii (Squamata: Gekkonidae), A New Cave-dwelling Gecko from Chiang Mai Province, Thailand.
 Zootaxa. 2570: 41–50.   mapress.com/j/zt/article/view/9399

ตุ๊กกายดำนุ้ย Cyrtodactylus dumnuii (Squamata : Gekkonidae)
ตุ๊กกายถ้ำสายพันธุ์ใหม่ที่พบในจังหวัดเชียงใหม่(2551)
ตุ๊กกายตัวแรกที่ได้ตั้งชื่อให้ ตั้งเป็นเกียรติ กับนายโสภณ ดำนุ้ย ขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์
ค้นพบตุ๊กกายสายพันธุ์ใหม่ในสกุล Cyrtodactylusที่จังหวัดเชียงใหม่ สามารถแยกตุ๊กกายดำนุ้ย (Cyrtodactylus dumnuii sp. nov.) จากตุ๊กแกในชั้นเดียวกันโดย การมีเกล็ดขา (femoral scales) ขนาดใหญ่ การมีรูเปิดหน้าทวารร่วม (precloacal pore) และรูเปิดขาพับใน (femoral pore) ที่ไม่ต่อกันในเพศผู้ (สามารถพบรูเปิดหน้าทวารร่วม (precloacal pore) ขนาดเล็กได้บ้างในเพศเมีย) แนวปุ่มนูนกลางหลัง (dorsal tubercle) เรียงชิดกันอย่างเป็นระเบียบจำนวนมาก (18-22) รอยพับข้างลำตัว (ventrolateral folds) ชัดเจน subcaudal platesขยายขนาดในแนวข้าง และลายแถบขวางบริเวณช่วงลำตัว (trunk) สลับสีอ่อนเข้มจำนวน 6คู่ ตุ๊กกายดำนุ้ยเป็นตุ๊กกายในสกุล Cyrtodactylus ชนิดที่ 19 ที่พบในประเทศไทย และเป็นตุ๊กกายไทยชนิดที่ 8ในกลุ่มตุ๊กกายที่อาศัยอยู่ในถ้ำ (facultative troglophile)
Key words:Thailand, Chiang Mai, Reptilia, Gekkonidae, Cyrtodactylus dumnuii, new species, taxonomy, cave-dwelling

สกุล Cyrtodactylus Gray เป็นสกุลที่มีจำนวนชนิดของตุ๊กกายมากที่สุดในวงศ์ตุ๊กแก โดยมีประมาณ 120 ชนิด ประมาณครึ่งหนึ่งของสกุลนี้ถูกค้นพบในทศวรรษที่ผ่านมา (Uetz 2010) แหล่งที่มีการค้นพบมากที่สุดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอย่างเช่น การศึกษาในประเทศเวียดนาม ได้มีการค้นพบตุ๊กกายทั้งหมด 19 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ท้องถิ่น และส่วนมากพบในเขตหินปูน หรือตามถ้ำหินปูน (e.g., Nazarov et al. 2008; Ngo 2008; Ngo & Bauer 2008; Ngo et al. 2008; Ziegler et al. 2010 และอ้างอิงอื่นๆที่มีการกล่าวถึง) ในประเทศไทย Baueret al.(2002) ค้นพบ Cyrtodactylus จำนวนทั้งสิ้น 13ชนิด อีก 5ชนิดได้มีการค้นพบในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศในเวลาต่อมา (Baueret al.2003; Pauwels et al. 2004; Baueret al. 2009; Sumontha et al. 2010) ซึ่งหลายชนิดมาจากถ้ำหินปูน (Sumontha et al. 2010) ในครั้งนี้จะทำการอธิบายลักษณะของตุ๊กกายชนิดใหม่ที่ค้นพบในถ้ำหินปูนในจังหวัดเชียงใหม่
กีรติ กันยาและมนตรี สุมณฑา